Why do we need DQ Global Standards Micro credentials ความจำเป็นในการมี DV Powered by DQ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดแรงงานทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ความผันผวนด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และภูมิรัฐศาสตร์ (WEF, 2023) ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ องค์กรต่างๆ ได้ปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมาตรฐานความยั่งยืนมาใช้ การเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลที่ยังต้องการความยั่งยืน สร้างความต้องการงานใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรม และภูมิภาคต่าง ๆ จากการสำรวจทั่วโลกใน 46 ประเทศ บริษัทต่างๆ ได้ระบุแนวโน้มสำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจภายในองค์กรของตน โดยแนวโน้ม 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมาใช้ให้มากขึ้น 2) การขยายการเข้าถึงดิจิทัลที่กว้างขึ้น 3) การนำมาตรฐานสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย (WEF, 2023)

สมัครร่วมประเมินกับ

อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนเชิงบวกเหล่านี้ เข้ามาพร้อมกับความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นคือ ความเสี่ยงจากปัญญาประดิษฐ์์ (Generative AI: Gen AI) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจในทุกภูมิภาค และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบรวมไปถึงการใช้ดิจิทัลในบริษัทต่างๆ ปัจจุบันการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Gen AI) กลายเป็นสาระและประเด็นสำคัญสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ไปจนถึงบริษัทที่ดำเนินการทั่วไปอยู่ในปัจจุบัน โดยต่างก็พิจารณาในการปรับและหากลยุทธ์ ในการนำ Gen AI มาใช้ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้วิธีใช้ Gen AI อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถควบคุมดูแลการใช้ Gen AI แต่อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจทั่วโลกในขณะนี้ โดย PwC (PricewaterhouseCoopers) โดยพนักงานส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วยกับนายว่าจ้างเสมอไป เกี่ยวกับความจำเป็นที่จะยกระดับทักษะ ( need for significant upskilling) อย่างมีนัยสำคัญ (PwC, 2023)

โดยพนักงานกว่า 34% (ไม่ใช่ระดับผู้บริหาร) เชื่อว่าทักษะการทำงานของพวกเขาจะเปลี่ยนไปอย่างมากในอีกห้าปีข้างหน้า ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและบริษัทต่างๆ ทั่วโลกจึงมีการลงทุนเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการยกระดับทักษะดิจิทัลให้กับพนักงาน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับงานและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจดิจิทัล

เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเกี่ยวกับความต้องการยกระดับทักษะดิจิทัลอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษาหันมาใช้ไมโครเครดิต ( Microcredentials) ซึ่งเดิมสถาบันเหล่านี้เคยนิยมใช้ใบรับรองผลการเรียน (academic Transcripts ) แต่เนื่องจากกระบวนการโอนหน่วยกิตโดยเฉพาะในกรณีให้ปรากฎบนใบรับรองใหม่ มักถูกมองว่าช้าและยุ่งยาก

นอกจากนี้ ใบรับรองผลการเรียน (ทางวิชาการ) จะไม่แสดงหรือมีข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อนายจ้างเกี่ยวกับทักษะและความสามารถของแต่ละคน (ICDE, 2019) ในทางกลับกัน ไมโครเครดิต ( Microcredentials) สามารถทำหน้าที่ในการรับรองความสามารถของบุคคล ทั้งที่อยู่และไม่ได้อยู่ในสถานที่ทำงาน สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลก ได้เริ่มเสนอทางเลือกที่จะสามารถตรวจสอบ ความสามารถของบุคคลด้วยการมอบ (Alternative Digital Credentials: ADCs) ซึ่งเป็นทางเลือกในการรับรองข้อมูล ความสามารถ (ทางด้านดิจิทัล) แตกต่างจากประกาศนียบัตรและปริญญาทั่วไป เนื่องจาก ADC/s หรือใบรับรองทางด้าน ดิจิทัล เช่น Micro Badge สามารถตรวจสอบและแจกจ่ายได้ทุกช่องทางทางดิจิทัล ในขณะเดียวกัน บริษัทขนาดใหญ่ เช่น AT&T, IBM และ Walmart ซึ่งต้องการให้พนักงานมีทักษะที่จำเป็น ได้ลงทุนเพิ่มเติมในการฝึกฝนสำหรับบริษัท โดยเริ่มจากระดับโรงเรียนขึ้นมา การสำเร็จจากหลักสูตรเหล่านี้ จะทราบผลได้จากการได้รับ Digital Badge หรือ ดิจิทัลเบจ ตัวอย่างเช่น บริษัท Cisco จะมีการใช้ Digital Badge คู่ไปกับใบรับรองในทุกระดับ (Cisco, 2020)

ในขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาขั้นสูงและองค์กรต่าง ๆ หลายแห่ง จะมีการมอบ Digital Badge (alternative digital credentials: ADCs) ด้วยเช่นกัน

ย้ำให้เห็นก่อนช่วงเกิดโรคระบาด จำนวนบริษัท EdTech ทีเพิ่มเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ต่อมาหลังยุคโควิด ปริมาณบริษัท EdTech ที่จำเป็นต้องมีหลักสูตรมากยิ่งขึ้น พร้อมกับการเสนอ Microcredentials ( Digital Badges ) ที่หลากหลาย เพื่อเสริมตามความต้องการของนายจ้าง และด้วยการพัฒนากอบกับการทดลองในช่วงเวลาที่กล่าวมานี้ ทั้งจากสถาบันอุดมศึกษา บริษัทขนาดใหญ่ และโรงเรียนต่าง ๆ ส่งผลให้มีปริมาณและบริการทางด้านการมอบ Microcredentials ที่สร้างความยุ่งเหยิง เพราะขาดการกำหนดด้วยมาตรฐานสากล และข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับนายจ้าง ในเอกสารนี้ เราขอแนะนำ DQ Global Standards Microcredentials (GSM) ซึ่งเป็นรหัสทักษะที่บอกความสามารถในการทำงานร่วมกันในมาตรฐานสากล (An interoperable codification of skills) ที่สามารถนำมาใช้สำหรับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ ทักษะดิจิทัลพื้นฐานในสถาบันการศึกษา ไปจนถึงทักษะดิจิทัลในบริษัทและองค์กรต่างๆ

ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจกับมาตรฐาน DQ Global Standards 2.0 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ DQ GSM เราจะอธิบายเกี่ยวกับ DQ GSM ลักษณะเฉพาะ และวิธีการใช้งานโดยองค์กรในแต่ละประเภท เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ และท้ายสุด เราจะยกตัวอย่างวิธีการนำ DQ GSM เพื่อไปใช้ในหมวดต่างๆ

  • ทักษะดิจิทัลพื้นฐาน (Digital Literacy)
  • ทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Literacy)
  • และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ( Sustainable Literacy )

DQ Global Standards (DQGS) คือ กรอบการทำงานสำหรับทักษะดิจิทัลพื้นฐาน ทักษะความสามารถด้านดิจิทัล และความพร้อมด้านดิจิทัล (Park, 2019)

"ดิจิทัล อินเทลลิเจนซ์ (DQ)" เป็นชุดทักษะที่ครอบคลุม ทั้งด้านเทคนิค ทักษะทางปัญญา ทักษะการรับรู้และเหนือการรับรู้ (meta-cognitive) ทักษะทางอารมณ์สังคม (socio-emotional) ที่ยึดโยงกับคุณค่าทางศีลธรรมสากล ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความท้าทายในชีวิตยุคดิจิทัลได้

DQGS นำเสนอกรอบทักษะดิจิทัลที่ครอบคลุมอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายให้องค์กรต่าง ๆ สามารถนำ DQGS ไปปรับใช้ได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการขององค์กรนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท หน่วยงานรัฐบาล หรือโรงเรียน ล้วนสามารถนำ DQGS ไปประยุกต์ใช้และปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของตนเองได้อย่างง่ายดาย โดยพิจารณาจากเป้าหมายทางธุรกิจ เป้าหมายทางการศึกษา และวัฒนธรรม

DQGS ถูกแบ่งโครงสร้างออกเป็น 'ด้าน' (areas) และ 'ระดับ' (levels) ของดิจิทัล อินเทลลิเจนซ์ (DQ) ซึ่งแบ่งขอบเขตด้วย 8 ความฉลาดทางด้านดิจิทัล (ดูตารางที่ 1) ซึ่งเป็น

  • การสานและต่อยอดมาจากกรอบการเรียนรู้ (OECD Education 2030 Learning Framework )
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals )
  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights)
  • ตัวชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดีของ (OECD Wellbeing Indicators)

รูปที่ 1: กรอบงาน DQ สอดคล้องกับกรอบการเรียนรู้ โออีซีดี พัฒศึกษา 2030 และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

ทั้ง 8 ด้านนี้ ได้แก่

  1. ตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identity)
  2. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Use)
  3. ความปลอดภัยดิจิทัล (Digital Safety)
  4. การป้องกันทางดิจิทัล (Digital Security)
  5. อารมณ์และความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Emotional Intelligence)
  6. การสื่อสารทางดิจิทัล (Digital Communication)
  7. ทักษะทางดิจิทัล (Digital Literacy)
  8. สิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights) (พาร์ค, 2019)

กรอบงาน DQ สมรรถนะเชิงปฏิรูป ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลและสังคม

ที่มา: The Future of Education and Skills, Education 2030, OECD, UN SDGs The levels of DQ are based on the definition of digital human capital formation which initially consisted of three components. First, a digitally skilled population, composed of digitally literate and aware Citizens, is empowered to accumulate knowledge, skills, and capabilities. Second, this allows them to become Creative contributors who implement ideas. And third, a digitally Competitive workforce is equipped with advanced science and technology talent to innovate, drive growth and enhance impact.

ระดับของ DQ ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความ จากวุฒิภาวะของพลเมืองดิจิทัล ซึ่งเดิมทีมีสามระดับองค์ประกอบ

  • ประชากรที่มีทักษะด้านดิจิทัล หมายถึงพลเมืองที่มีความรู้ด้านดิจิทัลและพร้อมต่อยอดทักษะความรู้และความสามารถ (Citizen)
  • สิ่งนี้ทำให้พวกเขากลายเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานนำแนวคิดต่างๆ ( Creator)
  • พลเมืองดิจิทัลทีพร้อมแข่งขันทางดิจิทัลที่เพียบพร้อมด้วยความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขับเคลื่อนการเติบโต และสร้างการเปลี่ยนแปลง (Competitive)

DQGS ที่เริ่มนำมาใช้ในปี 2019 นั้น ประกอบด้วย 8 ด้าน 3 ระดับ ได้แก่ พลเมืองสร้างสรรค์ทางดิจิทัล , พลเมืองเพื่อการแข่งขันด้านดิจิทัล

ต่อมาใน DQGS 2.0 ได้มีการพิจารณาใน ระดับที่ 4 คือพลเมืองที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อ (Connectivity) เพราะการเชื่อมต่อดิจิทัลเป็นพื้นฐานและเป็นจุดเริ่มต้นที่จำเป็นสำหรับการเป็นพลเมืองดิจิทัล ในทุกระดับ

ดังนั้น วุฒิภาวะของพลเมืองดิจิทัลที่ครบถ้วนถูกต้อง ประกอบไปด้วย 4 ระดับ DQ ได้แก่

  1. Digital Connectivity ความสามารถของพลเมืองในการเข้าถึงดิจิทัล
  2. Digital Citizenship พลเมืองดิจิทัลที่มีความสามารถในการสร้างสื่ออย่างปลอดภัยและมีจริยธรรม
  3. Digital Creativity พลเมืองดิจิทัลที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ พร้อมสรรค์สร้างผลงานและความรู้ใหม่ ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีและเนื้อหา เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดประโยชน์
  4. Digital Competitiveness ความสามารถในการสรรค์สร้างและร่วมแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเป็นแบบอย่างเป็นผู้นำ สร้างงานและความก้าวหน้า มีผลลัพธ์ที่ดี