ข้อควรรู้ก่อนเล่น Clubhouse

  1. แอพแจ้งว่าจะมีการอัดเสียงไว้ ! เฉพาะตอนที่ห้องนั้นกำลังรันสดเท่านั้น หลังจากห้องปิดตัวลง เสียงที่อัดไว้ก็จะถูกลบทิ้ง ยกเว้นว่ามีการร้องเรียนเข้ามาในระหว่างการรันสด ทางแอพจะเก็บไว้สอบสวนก่อน
  2. แอพเข้าถึงสมุดโทรศัพท์ของคุณ ! เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ของแอพนี้เลย เพราะแอพนี้จะต้องมีการ invite และก่อนการ invite นั้น แอพจะเข้าถึงทุกเบอร์ที่คุณมีเก็บไว้ในโทรศัพท์ ! เค้าจะรู้ว่าคุณ save เบอร์นั้นไว้ชื่ออะไร เป็นการดูดเบอร์ไปโดยไม่ได้ขออนุญาติเจ้าของเบอร์นั่นเอง
  3. ทุกการเข้าห้อง ข้อมูลนั้น แอพเก็บหมด ! ความยาวของการใช้งาน การที่เราสนใจในหัวข้อ follow ใครบ้างก็มีข้อมูลเก็บไว้ทั้งหมด
  4. เยาวชน ถ้ามาเล่นก็ต้องรับผิดชอบตัวเองนะคะ ไม่มีการสกรีนอายุออก และถ้าใครเจอเด็กมาเล่นก็ค่อยให้ไปแจ้งเพื่อลบออก
  5. ข้อมูลเราไปอยู่ที่อเมริกา และที่จีน ! ข้อมูลของคุณจะอยู่ที่ Server ของ Alpha Exploration Co. ที่อเมริกา และอาจมีบางส่วนส่งไปที่ Server ของ Technology Partner ที่ร่วมสร้างแอพนี้มา คือ บริษัท Agora ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนอีกด้วย
  6. Privacy Policies รายละเอียดบางเบา ! เค้าบอก ไม่ขาย Data แต่เก็บข้อมูลไว้ที่ Server ที่อเมริกา และมีการส่งต่อบางส่วนให้ Third Parties บอกจุดประสงค์การเก็บข้อมูลไว้กว้างมาก
  7. คุณเลือกได้ ! คือ เลือกที่จะไม่ให้ข้อมูลกับแอพก็ได้ แต่จะไม่สามารถใช้แอพได้ แบบนี้ตามกติกาของ GDPR ถือว่าเป็นการไม่ให้ทางเลือกกับผู้ใช้งาน
  8. คนที่เล่นก็ต้องดูแลตัวเอง ! แอพก็มีมาตรฐานความปลอดภัย แต่อย่างไรแอพก็ไม่สามารถการันตีความปลอดภัยให้คุณได้ว่าจะปลอดภัย 100% โดยเฉพาะ email ต่างๆที่แอพส่งไป
  9. แต่ถ้าจะลบ Account คือ ต้อง email ไปนะ ! ลบใน App เลยไม่ได้ ทั้งที่ตามกติกาของ GDPR บอกว่าการลบข้อมูลจะต้องง่ายเหมือนตอนที่เอาข้อมูลเราไป
  10. ไม่บอกว่าจะเก็บข้อมูลเราไว้นานแค่ไหน ถึงวันที่เราอยากลบข้อมูลออกก็ให้อีเมลไปแจ้งอีกเช่นกัน ซึ่งก็ไม่ได้บอกไว้ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนที่จะลบจากทั้งแอพและ Third Parties ทั้งหมดที่แอพใช้

เริ่มกลัวแล้วใช่มั้ยคะ ? จริงๆแอพอื่นๆที่คล้ายกันก็มีโอกาสรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของเราได้เหมือนกัน หากว่า PDPA (Personal Data Protection Act) ของไทยเริ่มใช้งานเมื่อไหร่ หากเราได้รับความเดือดร้อน เราก็มีกฎหมายไว้คุ้มครอง  อย่างตอนนี้ที่มีกฎ GDPR ( General Data Protection Regulation) คุ้มครองชาวยุโรปอยู่ ก็เริ่มมีกระแสต่อต้านแล้วโดยเฉพาะในเยอรมันที่มีการเรียกร้องให้มี Privacy Policies เป็นภาษาเยอรมันด้วย

รวมถึง CCPA ( California Consumer Protection Act) ที่มีการสร้างกฎว่าชาวแคลิฟอร์เนียจะต้องสามารถขอข้อมูลได้ว่าเอาข้อมูลของตนไปทำอะไรบ้าง

ที่ประเทศจีนตอนนี้แบนแอพนี้ไปแล้วเพราะว่ามีการสนทนาเนื้อหาที่ Sensitive อาทิเช่นการเมือง
ขอเพิ่มเติมความรู้เรื่อง PDPA (Personal Data Protection Act) ต่อนะคะ

องค์กรใดๆทั่วโลก สามารถเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ แต่จะต้องทำตามกฎนี้

  1. การเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล เปิดเผยข้อมูล ต้องได้รับความยินยอมจากคุณ ที่เป็นเจ้าของข้อมูลเสมอ
  2. ผู้เก็บจะต้องแจ้งสิทธิ รายละเอียด และวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ให้เจ้าของข้อมูลรับทราบเสมอ
  3. ต้องเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น ห้ามเก็บจากแหล่งอื่น
  4. หากผู้เก็บพบว่ามีการรั่วของข้อมูล จะต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลให้ทราบภายใน 72 ชม.
  5. คุ้มครองข้อมูลของเราคนไทยทุกคน ไม่ว่าผู้เก็บจะอยู่ที่ใดในโลกก็ตาม
    ผู้เก็บ คือ องค์กรทุกขนาด แม้แต่องค์กรการกุศลก็นับหมดค่ะ

ถ้ามีผู้ละเมิด มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง

  • โทษทางอาญา จำคุก สูงสุด 1 ปี และปรับสูงสุด 1 ล้านบาท
  • โทษทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
  • โทษทางปกครอง ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท

ข้อมูลใดบ้างล่ะ ที่ถือเป็นส่วนตัวตามพรบ.นี้
คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งแบบที่เก็บ Online และ Offline อาทิ เช่น

  • ชื่อ นามสกุล
  • หมายเลขโทรศัพท์
  • ที่อยู่
  • อีเมล
  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่าย
  • ประวัติการทำงาน
  • IP address
  • สถานศึกษา ผลการเรียน
  • ทะเบียนรถ
  • ข้อมูลพฤติกรรม

ก่อนจะให้ข้อมูลใครไป เช็คให้ดีๆตาม checklist นี้

  1. ข้อมูลใดบ้างที่จะจัดเก็บ
  2. วัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล
  3. ระยะเวลาการเก็บข้อมูล
  4. ชื่อและเบอร์ของบริษัทหรือบุคคลที่รับผิดชอบต่อการเก็บข้อมูล
  5. ต้องมี 2 ปุ่มให้เลือกกด คือ ยินยอม และ ไม่ยินยอม
    ( เวบแบบที่แอบเลือก ยินยอมมาให้ล่วงหน้าแล้ว เหลือปุ่มเดียวที่ให้กด ไม่ยินยอม หรือที่เรียกกันว่าแบบ Opt Out นั้น ถือว่าผิดพรบ.นะคะ )

ที่มา

analytist.co

ทั้งหมด 11 ความคิดเห็น

  • ***************************** 13 ก.พ. 2567 09:12

    ข้อมูลเยี่ยมเลยครับ

  • S*** 26 ก.ย. 2564 08:28

    การให้ข้อมูลต่างทางออนไลน์เหมือนภาวะจำยอมที่ต้องปฏิบัติตาม เสมือน กม.ที่ต้องรู้และยอมรับ ทั้งๆที่รู้ แต่ก็เสียเปรียบคนที่จ้องเอาเปรียบอยู่แล้ว ความเป็นธรรมของเหยื่อจึงไม่มี

  • C***** 11 ส.ค. 2564 20:24

    ได้รับการพัฒนาสมรรถนะดิจิตอลเพื่อให้อยู่ในยุค AI Online Internet Information

  • ***************** 1 ก.ค. 2564 17:51

    ขอบคุณข้อมูล. ได้คุยกับลูกเรื่องการใข้แอฟต่างๆ

  • P******* 24 มิ.ย. 2564 20:01

    มิจฉาชีพมันเยอะสมัยนี้

  • ***************** 21 มิ.ย. 2564 06:54

    มีหลายอย่างเลยที่เรายังไม่รู้

  • ******************************** 18 มิ.ย. 2564 19:21

    มีหลายข้อเลยที่ดูไม่เป็นเหตุเป็นผล ต้องรอดูว่า clubhouse จะมาไวไปไวหรือไม่ (แต่ถึงตอนนั้นก็คงได้ข้อมูลไปไม่น้อยแล้ว)

  • T***** 17 มิ.ย. 2564 21:46

    ><

  • N******** 8 มิ.ย. 2564 21:37

    ทุกวันนี้มีการหลอกลวงข้อมูลต่างๆ มากมายมาทางแอฟต่าง ๆ บางคนไม่ได้อ่านข้อมูลอย่างรอบคอบก็กดยอมรับไปแล้ว จึงทำให้บางครั้งได้รับความเสียหายและเดือนร้อนก็มีเยอะในปัจจุบัน อยากให้มีกฎหมายที่จริงจังเกี่ยวกับคนที่ทำแอฟหลอกลวงอย่างเด็ดขาด

  • ************************** 30 พ.ค. 2564 16:10

    รออ่านข่าวใหม่ๆ เมื่อไหร่จะอัพเดทนะ

  • ************************** 21 พ.ค. 2564 11:18

    คนไทยส่วนมายังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ PDPA (Personal Data Protection Act) เวลาใช้งานออนไลน์ มีอะไรขึ้นมาไม่ค่อยอ่าน กดยอดรับอย่างเดียว ซึ่งบางครั้งเป็นการรุกรานความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน