ข้อควรรู้ก่อนเล่น Clubhouse
- แอพแจ้งว่าจะมีการอัดเสียงไว้ ! เฉพาะตอนที่ห้องนั้นกำลังรันสดเท่านั้น หลังจากห้องปิดตัวลง เสียงที่อัดไว้ก็จะถูกลบทิ้ง ยกเว้นว่ามีการร้องเรียนเข้ามาในระหว่างการรันสด ทางแอพจะเก็บไว้สอบสวนก่อน
- แอพเข้าถึงสมุดโทรศัพท์ของคุณ ! เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ของแอพนี้เลย เพราะแอพนี้จะต้องมีการ invite และก่อนการ invite นั้น แอพจะเข้าถึงทุกเบอร์ที่คุณมีเก็บไว้ในโทรศัพท์ ! เค้าจะรู้ว่าคุณ save เบอร์นั้นไว้ชื่ออะไร เป็นการดูดเบอร์ไปโดยไม่ได้ขออนุญาติเจ้าของเบอร์นั่นเอง
- ทุกการเข้าห้อง ข้อมูลนั้น แอพเก็บหมด ! ความยาวของการใช้งาน การที่เราสนใจในหัวข้อ follow ใครบ้างก็มีข้อมูลเก็บไว้ทั้งหมด
- เยาวชน ถ้ามาเล่นก็ต้องรับผิดชอบตัวเองนะคะ ไม่มีการสกรีนอายุออก และถ้าใครเจอเด็กมาเล่นก็ค่อยให้ไปแจ้งเพื่อลบออก
- ข้อมูลเราไปอยู่ที่อเมริกา และที่จีน ! ข้อมูลของคุณจะอยู่ที่ Server ของ Alpha Exploration Co. ที่อเมริกา และอาจมีบางส่วนส่งไปที่ Server ของ Technology Partner ที่ร่วมสร้างแอพนี้มา คือ บริษัท Agora ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนอีกด้วย
- Privacy Policies รายละเอียดบางเบา ! เค้าบอก ไม่ขาย Data แต่เก็บข้อมูลไว้ที่ Server ที่อเมริกา และมีการส่งต่อบางส่วนให้ Third Parties บอกจุดประสงค์การเก็บข้อมูลไว้กว้างมาก
- คุณเลือกได้ ! คือ เลือกที่จะไม่ให้ข้อมูลกับแอพก็ได้ แต่จะไม่สามารถใช้แอพได้ แบบนี้ตามกติกาของ GDPR ถือว่าเป็นการไม่ให้ทางเลือกกับผู้ใช้งาน
- คนที่เล่นก็ต้องดูแลตัวเอง ! แอพก็มีมาตรฐานความปลอดภัย แต่อย่างไรแอพก็ไม่สามารถการันตีความปลอดภัยให้คุณได้ว่าจะปลอดภัย 100% โดยเฉพาะ email ต่างๆที่แอพส่งไป
- แต่ถ้าจะลบ Account คือ ต้อง email ไปนะ ! ลบใน App เลยไม่ได้ ทั้งที่ตามกติกาของ GDPR บอกว่าการลบข้อมูลจะต้องง่ายเหมือนตอนที่เอาข้อมูลเราไป
- ไม่บอกว่าจะเก็บข้อมูลเราไว้นานแค่ไหน ถึงวันที่เราอยากลบข้อมูลออกก็ให้อีเมลไปแจ้งอีกเช่นกัน ซึ่งก็ไม่ได้บอกไว้ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนที่จะลบจากทั้งแอพและ Third Parties ทั้งหมดที่แอพใช้
เริ่มกลัวแล้วใช่มั้ยคะ ? จริงๆแอพอื่นๆที่คล้ายกันก็มีโอกาสรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของเราได้เหมือนกัน หากว่า PDPA (Personal Data Protection Act) ของไทยเริ่มใช้งานเมื่อไหร่ หากเราได้รับความเดือดร้อน เราก็มีกฎหมายไว้คุ้มครอง อย่างตอนนี้ที่มีกฎ GDPR ( General Data Protection Regulation) คุ้มครองชาวยุโรปอยู่ ก็เริ่มมีกระแสต่อต้านแล้วโดยเฉพาะในเยอรมันที่มีการเรียกร้องให้มี Privacy Policies เป็นภาษาเยอรมันด้วย
รวมถึง CCPA ( California Consumer Protection Act) ที่มีการสร้างกฎว่าชาวแคลิฟอร์เนียจะต้องสามารถขอข้อมูลได้ว่าเอาข้อมูลของตนไปทำอะไรบ้าง
ที่ประเทศจีนตอนนี้แบนแอพนี้ไปแล้วเพราะว่ามีการสนทนาเนื้อหาที่ Sensitive อาทิเช่นการเมือง
ขอเพิ่มเติมความรู้เรื่อง PDPA (Personal Data Protection Act) ต่อนะคะ
องค์กรใดๆทั่วโลก สามารถเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ แต่จะต้องทำตามกฎนี้
- การเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล เปิดเผยข้อมูล ต้องได้รับความยินยอมจากคุณ ที่เป็นเจ้าของข้อมูลเสมอ
- ผู้เก็บจะต้องแจ้งสิทธิ รายละเอียด และวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ให้เจ้าของข้อมูลรับทราบเสมอ
- ต้องเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น ห้ามเก็บจากแหล่งอื่น
- หากผู้เก็บพบว่ามีการรั่วของข้อมูล จะต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลให้ทราบภายใน 72 ชม.
- คุ้มครองข้อมูลของเราคนไทยทุกคน ไม่ว่าผู้เก็บจะอยู่ที่ใดในโลกก็ตาม
ผู้เก็บ คือ องค์กรทุกขนาด แม้แต่องค์กรการกุศลก็นับหมดค่ะ
ถ้ามีผู้ละเมิด มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง
- โทษทางอาญา จำคุก สูงสุด 1 ปี และปรับสูงสุด 1 ล้านบาท
- โทษทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
- โทษทางปกครอง ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท
ข้อมูลใดบ้างล่ะ ที่ถือเป็นส่วนตัวตามพรบ.นี้
คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งแบบที่เก็บ Online และ Offline อาทิ เช่น
- ชื่อ นามสกุล
- หมายเลขโทรศัพท์
- ที่อยู่
- อีเมล
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- รูปถ่าย
- ประวัติการทำงาน
- IP address
- สถานศึกษา ผลการเรียน
- ทะเบียนรถ
- ข้อมูลพฤติกรรม
ก่อนจะให้ข้อมูลใครไป เช็คให้ดีๆตาม checklist นี้
- ข้อมูลใดบ้างที่จะจัดเก็บ
- วัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล
- ระยะเวลาการเก็บข้อมูล
- ชื่อและเบอร์ของบริษัทหรือบุคคลที่รับผิดชอบต่อการเก็บข้อมูล
- ต้องมี 2 ปุ่มให้เลือกกด คือ ยินยอม และ ไม่ยินยอม
( เวบแบบที่แอบเลือก ยินยอมมาให้ล่วงหน้าแล้ว เหลือปุ่มเดียวที่ให้กด ไม่ยินยอม หรือที่เรียกกันว่าแบบ Opt Out นั้น ถือว่าผิดพรบ.นะคะ )
ที่มา
ทั้งหมด 12 ความคิดเห็น
สุปว่า มันคือ คาเฟ่ ออนไลน์ ที่ บันทึกได้ทุกอย่างของเรา?Korsin 25 พ.ค. 2567 13:55
ข้อมูลเยี่ยมเลยครับกิตติวัฒน์ 13 ก.พ. 2567 09:12
การให้ข้อมูลต่างทางออนไลน์เหมือนภาวะจำยอมที่ต้องปฏิบัติตาม เสมือน กม.ที่ต้องรู้และยอมรับ ทั้งๆที่รู้ แต่ก็เสียเปรียบคนที่จ้องเอาเปรียบอยู่แล้ว ความเป็นธรรมของเหยื่อจึงไม่มีSitt 26 ก.ย. 2564 08:28
ได้รับการพัฒนาสมรรถนะดิจิตอลเพื่อให้อยู่ในยุค AI Online Internet InformationChanai 11 ส.ค. 2564 20:24
ขอบคุณข้อมูล. ได้คุยกับลูกเรื่องการใข้แอฟต่างๆธันยพร 1 ก.ค. 2564 17:51
มิจฉาชีพมันเยอะสมัยนี้Phirayot 24 มิ.ย. 2564 20:01
มีหลายอย่างเลยที่เรายังไม่รู้โชติกา 21 มิ.ย. 2564 06:54
มีหลายข้อเลยที่ดูไม่เป็นเหตุเป็นผล ต้องรอดูว่า clubhouse จะมาไวไปไวหรือไม่ (แต่ถึงตอนนั้นก็คงได้ข้อมูลไปไม่น้อยแล้ว)กิตติศักดิ์ 18 มิ.ย. 2564 19:21
><Tester 17 มิ.ย. 2564 21:46
ทุกวันนี้มีการหลอกลวงข้อมูลต่างๆ มากมายมาทางแอฟต่าง ๆ บางคนไม่ได้อ่านข้อมูลอย่างรอบคอบก็กดยอมรับไปแล้ว จึงทำให้บางครั้งได้รับความเสียหายและเดือนร้อนก็มีเยอะในปัจจุบัน อยากให้มีกฎหมายที่จริงจังเกี่ยวกับคนที่ทำแอฟหลอกลวงอย่างเด็ดขาดNantharut 8 มิ.ย. 2564 21:37
รออ่านข่าวใหม่ๆ เมื่อไหร่จะอัพเดทนะกรรณิการ์ 30 พ.ค. 2564 16:10
คนไทยส่วนมายังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ PDPA (Personal Data Protection Act) เวลาใช้งานออนไลน์ มีอะไรขึ้นมาไม่ค่อยอ่าน กดยอดรับอย่างเดียว ซึ่งบางครั้งเป็นการรุกรานความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานกรรณิการ์ 21 พ.ค. 2564 11:18