D-Tech Open Mic. : ดิจิทัล ทำไมใคร ๆ ก็โทษฉัน ?
D-Tech Open Mic. : ดิจิทัล ทำไมใคร ๆ ก็โทษฉัน ?
Speaker : Miki
00:00 – ตั้งคำถาม “ดิจิทัล” ทำไมใคร ๆ ก็โทษฉัน ?
วันนี้ก็ได้รับเกียรติมา Open Mic ครั้งแรก เลยอยากจะชวนคุยเรื่องนึงค่ะ เรื่องที่ ถ้าเรามีชีวิตเป็นหน้าจอ หรือมีชีวิตเป็นเกม คงรู้สึกว่า ทำไมใคร ๆ ก็โทษฉัน จริง ๆ อยากให้ย้อนกลับไป ดูอย่างสมัย เช่น Gen Y ต้น ๆ อย่างมิกิ เราเติบโตมา Mix เรามีทั้งสื่อ ที่เกิดมาตั้งแต่แรกยังไม่มีสื่อเลย แต่ว่าพอมาถึงยุคที่พอเริ่มเข้าวัยรุ่น มิกิทันรุ่นเพจเจอร์ แล้วก็มามือถือ นั้นเราเป็นคน 2 ยุคที่โชคดี แต่เด็กสมัยนี้ตั้งแต่ Gan Z ขึ้นมา หรือ Gen Alpha เขาโตมาเขารู้จักหน้าจอแล้ว เวลาที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับเด็ก ทำไมใคร ๆ ต้องบอกว่า เด็กติดเกมหรือเปล่า แล้วมันใช่หรือเปล่า มิกิมีโอกาสทำงาน Kids Around แล้วก็เจอผู้เชี่ยวชาญหลายคน แล้วด้วยความเป็นแม่เองก็ชอบเสพ คอนเทนต์ดี ๆ จากนักจิตวิทยา หรือคุณหมอเรื่องนี้ แล้วก็ได้มีโอกาสนั่งขบคิด ว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นเพราะสื่อหรือเปล่า ที่ทำให้เด็กมีอาการในปัจจุบัน เช่นรอไม่ได้ หรือว่าเป็นสมาธิสั้น หรือใด ๆ ก็ตาม
01:30 – วัยสำคัญในการพัฒนา มอบความรักผ่านการเรียนรู้
การเรียนรู้ของเด็ก ใคร ๆ ก็รู้ว่าปฐมวัย คุณพ่อคุณแม่รู้ดี ตอนนี้ทุกคนศึกษาเรื่องนี้ได้อย่างง่ายดาย เพราะสื่อดิจิทัลใช่ไหมคะ ว่า 0 – 7 ขวบ ปฐมวัย เด็กไม่ควรสัมผัสหน้าจอ แต่ทำไมละ จริง ๆ หน้าจอ หรือว่าเทคโนโลยีมันก็ช่วยเราได้ เพราะว่าจากการที่นั่งฟังคุณหมอหลายท่าน มิกิก็ได้ตกผลึกบางอย่างว่า 0 – 7 ขวบ โดยเฉพาะ 2 – 4 ขวบ เป็นวัยเลียนแบบ คุณพ่อคุณแม่ที่นั่งฟังมิกิอยู่ ลองนึกย้อนกลับไปตอนลูกคุณอายุประมาณนี้ ลูกมิกิวัยนี้เลยค่ะ เลียนแบบทุกอย่างจริง ๆ แล้วเราช่างโชคดีเหลือเกิน ที่เป็นพ่อแม่คนแล้วเราเกิดมาเป็นไอดอลของมนุษย์คนนึง ทีนี้เวลาที่เด็กเขาเลียนแบบ นั่นหมายความว่า เขาจะเลียนแบบจากสภาพแวดล้อม และบุคคลรอบข้างถูกไหมคะ ถ้าเกิดว่าเรามีเวลาให้เขา เราได้ใช้เวลากับเขาจริง ๆ เขาจะได้เรียนรู้กับมนุษย์จริง ๆ และมนุษย์คนนั้นมอบความรักผ่านการเรียนรู้ด้วย นั้นก็เลยเป็นเหตุผลหนึ่งว่า ทำไมเด็กคนหนึ่งเติบโตมาแล้วเขารู้สึกใจเต็ม ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกค่ะ ว่าสังคมทุกวันนี้ มันทำให้เราต้องหาเงิน พอหาเงินแล้ว เงินเป็นปัจจัยสำคัญไม่เถียงเลยค่ะ บางทีเรารู้สึกว่าอยากจะมีช่วงเวลาส่วนตัวของเราบ้าง ก็เลยให้หน้าจอกับน้อง โดยที่ไม่คิดอะไรมาก แค่ขอเวลาแม่สักแป๊บนึงลูก 30 นาที ให้แม่ได้พักผ่อนตานิดนึง หรือว่าให้พ่อที่เหนื่อยจากการทำงานกลับมา มีเวลาส่วนตัวสักนิดนึง แต่รู้ไหมคะ นั่นแหละคือการที่ทำให้หน้าจอเป็นผู้ร้าย ทั้ง ๆ ที่ดิจิทัลหรือสื่อใด ๆ นั้นมีคอนเทนต์มากมาย แต่เด็กใช้เวลานั้นแหละ ในช่วงเวลาที่เขาต้องเลียนแบบคน เขากับไปเลียนแบบสื่อที่เขาเสพ ไม่มี Interaction ไม่มีสายตาของความรักที่มองเขาอยู่ แต่เป็นอะไรสักอย่าง พูดกับเขาฝั่งเดียวแล้วก็ไม่ฟังเขาพูดด้วย ฉะนั้นเราโทษใครดีคะ เราโทษสื่อโทษเกม หรือโทษใครดี
03:57 - โปรดแก้ไขก่อนจะสายเกินไป
พอเด็กคนนั้นเติบโตขึ้นมา เป็นวัยรุ่น หรือ Pre-Teen ก็ตามแต่ การที่เขาถูกเลี้ยงดูมาด้วยหน้าจอนี่แหละค่ะ เขารู้สึกว่าเพื่อนแท้และไอดอลของเขา อยู่ในจอ แล้วเราแก้ไขอะไรได้คะ มีเงินมากมายซื้ออะไรไม่ได้เลยค่ะ ถูกไหมคะ ฉะนั้นย้อนกลับไปดู อยากจะชวนคุยกลับไปดูคุณพ่อคุณแม่ แล้วก็สภาพแวดล้อมของลูกทุกคน ว่าจริง ๆ แล้ว หน้าจอ ดิจิทัล สื่อต่าง ๆ หรือตัวเราเองที่ทำให้ลูกเราเป็นแบบนี้ อยากจะบอกว่าทุกคนเติบโตมาทุกวันนี้ มีภูมิหลังต่างกัน เด็กทุกคนเกิดมาไม่ใช่ผ้าสีขาว เป็นผ้าหลากสี ถ้าเราสังเกตดู เราจะรู้ว่าลูกเรามีความพิเศษกว่าคนอื่นนะ มิกิทิ้งท้ายไว้นิดนึงค่ะ ต่อให้เขาบอกว่าสื่อที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก คือหนังสือ มิกิให้น้องคนนึงเข้าไปอยู่ในห้องที่มีหนังสือ Top hundred ดีมากเลยทั่วโลกมากองอยู่ มันจะมีประโยชน์เหรอคะ ถ้าไม่มีคนอ่านด้วยกับเขา
05:27 – ช่วงเวลาที่สร้างตัวตน อย่าให้สื่อดิจิทัลเป็นพี่เลี้ยง
ฝากคุณพ่อคุณแม่ 7 ปีแรก มิกิขอให้เป็นช่วงเวลาที่สร้างตัวตนของเขา อย่าให้สื่อเป็นพี่เลี้ยงค่ะ แต่มันก็จะดีเหมือนกันนะคะ ถ้าเกิดว่าใช้ช่วงเวลาแห่งการรับสื่อ แต่คุณพ่อคุณแม่อยู่กับเขา ทำไมเด็กสมัยมิกิ สมัยพี่จอห์นเองแบบนี้ เราไม่มีความสมาธิสั้น เพราะว่าเราก็เกิดมากับทีวี เพราะครอบครัวตอนนั้นลองมองย้อนกลับไปค่ะ เวลาดูละครเราดูด้วยกันทั้งครอบครัวนะ ตอนนี้ต่างคนต่างมี Device ของตัวเอง แล้วก็ดูสื่อของตัวเอง โยนไอแพดให้ลูกดูการ์ตูน คุณพ่อคุณแม่ดูซีรีย์ ขอบคุณค่ะ
06:15 - Summary
ทั้งหมด 2 ความคิดเห็น
เข้าเรียน หลักสูตร อะไร ไม่ได้แล้ว ไม่รู้เพราะ อะไรKorsin 14 มิ.ย. 2567 15:22
"....ต่างคนต่างมี Device ของตัวเอง แล้วก็ดูสื่อของตัวเอง โยนไอแพดให้ลูกดูการ์ตูน คุณพ่อคุณแม่ดูซีรีย์ ขอบคุณค่ะ ....."
มันใช่เลยครับKorsin 1 มิ.ย. 2567 15:10